วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ 1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศทางการแพทย์ 1.บัททึกข้อมูลทางการพยาบาล เช่น North American Nursing Diagnosis Association : NANDAสมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ Nursing Intervention Classification : NIC ใช้ตัดสินว่าจะให้การบาบัดทางการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเพื่อแก้/บรรเทาปัญหาทางสุขภาพ Nursing Outcome Classification : NOC ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน International Classification Nursing Practice : ICNP การใช้คามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล 2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ระบบติดตาม (Monitor system)
1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดทางชีวภาพแบบอัตโนมัติในหน่วยวิกฤต และหน่วยเฉพาะโรค2.รูปแบบของระบบติดตาม การเตือนเมื่อพบสิ่งที่ผิดปกติ 1.ระบบติดตามแบบเคลื่อนที่2.การบันทึกสิ่งค้นพบที่ผิดปกติ3.สามารถถ่ายโอนข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปสู่ระบบอื่นได้ เพื่อที่จะได้มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ระบบห้องปฏิบัติการ (Laboratory system)
1.บันทึกข้อมูลผลการตรวจต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ2.สามารถเข้าถึงผลการตรวจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น3.ช่วยลดความผิดพลาดในการายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดจากคน ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ระบบรังสี (Radiology system)
1.เก็บข้อมุลเป็นภาพดิจิตอลแทนฟิล์มรังสีแบบเดิม2.สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพทางรังสีได้อย่างรวดเร็วขึ้น3.สามารถส่งต่อภาพรังสีไปยังแหล่งอื่นๆ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลอื่น ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูล x-ray ของโรงพยาบาลศิริราชระบบ SIPACS ระบบเภสัชกรรม (Pharmacy system)
1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา2.สามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยและการให้ยาได้ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาและข้อมุ,ส่วนบุคคล3.ช่วยแพทยืในการตัดสินใจว่ายาตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย4.การคำนวณการใช้ยา ค่าใช้จ่ายและออกใบเสร็จรับเงิน Hospital Information System (HIS) ของโรงพยาบาลสาธิต
เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน และ/หรือโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้โรงพยาบาลเหล่านี้ได้มีทางเลือกในการใช้โปรแกรมมากขึ้น HIS พัฒนาโดยใช้ Data set มาตรฐานเดิมซึ่งเคยได้ออกแบบไว้แล้ว(เล่มสีเขียว) โดยใช้ Visual Fox Pro Version 3.0 เพื่อให้ใช้ได้กับทุก Windows environment ทั้งแบบ Client-Server และ Stanalone สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Database เป็น SQL Anywhere5.0 หรือ MS SQL Server6.5 ขึ้นไปโปรแกรมตัวอย่าง ได้แก่ Database SQL Server7.0 การใช้งานHIS เป็นโปรแกรมที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้กำหนดองค์ประกอบของโปรแกรมได้เอง ประกอบไปด้วยระบบงานย่อยดังนี้ ระบบงานห้องบัตร ระบบงานห้องตรวจโรค ระบบงานจุดจ่ายยา ระบบงานห้องเก็บเงินผู้ป่วย ระบบงานจุดลงทะเบียนผู้ป่วยใน ระบบรายงาน ระบบการติดตามสอบถามข้อมูลผู้ป่วย ตัวอย่างระบบห้องบัตร
ตัวอย่างระบบงานห้องตรวจ
ตัวอย่างระะบบงานจุดจ่ายยา
ตัวอย่างงานจุดลงทะเบียนผู้ป่วยใน
ระบบโรงพยาบาล (HIS) UNIX ประกอบด้วย ระบบผู้ป่วยใน, ระบบห้องผ่าตัด, ระบบห้องคลอด, ระบบห้องปฏิบัติการ, ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยในระบบการเงินผู้ป่วยนอกและระบบการเงินผู้ป่วยใน ระบบสั่งอาหาร On Line Windows ประกอบด้วย ระบบเวชระเบียน, ระบบผู้ป่วยนอก,ระบบนัดหมาย, ระบบการเงินผู้ป่วยนอก, ระบบการเงินผู้ป่วยใน
โปรแกรม Med-Tark ซึ่งมีระบบเวชระเบียน ระบบห้องยา ระบบการเงิน ส่วนโปรแกรมสำนักงาน(back office)ที่มีใช้ช่วยในงานบริการ เช่น โปรแกรมการเงินการบัญชี โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมพัสดุ โปรแกรมครุภัณฑ์ เป็นต้น พัฒนาจากโปรแกรม Visual FoxPro ระบบคอมพิวเตอร์ MED-TRAK ระบบเวชระเบียน ระบบห้องตรวจ ระบบนัดหมาย ระบบเภสัชกรรม ระบบการเงิน ระบบ ANC ระบบ Wellbaby ระบบการตรวจเยี่ยมบ้าน อสเอกซ์พี (HOSxP) เป็น ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน สำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล พัฒนาโดยบุคลากรที่อาสาสมัครมาจากหลายโรงพยาบาล มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้งานได้จริงทั้งในระดับสถานีอนามัย ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันถูกใช้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย มากกว่า 150 แห่ง (iMed) คือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน สำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในระบบงานส่วนหน้า (Front office) ของสถานพยาบาล ซึ่งครอบคลุมการให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้งาน และพัฒนาคุณภาพในการให้บริการผู้ป่วย iMed™ ถูกออกแบบและพัฒนาโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคัล ซอฟต์แวร์ จำกัด ซึ่งเป็นทีมพัฒนาเดิมของทีมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็ก Hospital OS ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว] และเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช) โดยได้รับการยอมรับและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางกว่า 60 สถานพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อขยายขอบเขตในการตอบสนองความต้องการของสถานพยาบาลทุกขนาด ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาโปรแกรม iMed™ ขึ้น โดยมีจุดเด่นในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน และยังคงแนวคิดของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ลิขสิทธิ์แบบเปิดไว้ (Technology Transfer and Open Source Concept) พร้อมทั้งให้ source code ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สถานพยาบาลจะได้รับประโยชน์อย่างสูงในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน (Medico) โปรแกรมคอมพิวเตอร์การบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Fully 3 tiers: WEB SERVICES เหมาะสำหรับโรงพยาบาลขนาดกลางและใหญ่ เชื่อมโยงกับแหล่งฐานข้อมูลอื่นผ่าน XML และ Internet เชื่อมต่อโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ได้ มีความแข็งแรงรองรับการให้การบริการจำนวนมาก ได้อย่างน้อย 1,000 รายต่อวัน หรือ 300 รายต่อชั่วโมง มีระบบรักษาความปลอดภัยภายใน Intranet ถึงระดับ Hardware ของเครื่องลูกข่ายอีกด้วย มีระบบงานคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสาขา PCU และคลินิกโดยสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกันได้ ทำให้สามารถช่วยฝ่ายบริหารวางแผน โดยประเมินประสิทธิภาพแยกตามแผนก บุคคลหน่วยงาน ได้อย่างละเอียด (MIMS:Hospital Information Management System) คือ ระบบ งานการบริหารโรงพยาบาลที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานคอม พิวเตอร์และระบบโรงพยาบาล เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรที่ต้องการระบบงานที่ช่วย ในการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว, เที่ยงตรง, แม่นยำ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดย เน้นให้ทุกฝ่ายในองค์กรใช้ฐานข้อมูลที่มีการ Access ในลักษณะ Real Time ร่วมกัน ทำให้ Output ของระบบหนึ่งจะกลายเป็น Input ของอีกระบบหนึ่งโดยไม่ต้อง Re-Key ข้อมูลใหม่ ส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการ ตรวจสอบ, จัดการ, ติดตามและรายงานข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก ทุกฝ่ายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้ป่วย, แพทย์, ยา, เวชภัณฑ์, การตรวจรักษา, พัสดุ, การเงิน, บัญชี ฯลฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้อีกทั้งเลือกพัฒนา บนเครื่อง IBM AS/400e Series ที่มี Technology ที่ทันสมัยเหมาะกับการทำงานแบบ Interactive ที่เป็น Multi – User, Multi – Tasking อย่างยอดเยี่ยม อ้างอิง “IM for Your Local Network” ,Shekhar Govindarajan ,PCQuest. “Jabber User Guide” ,Jabber Software Foundation. 2004-01-29 http://www.cisco.com/web/TH/technology/instant_messaging.htmlค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2551. http://th.wikipedia.org/wiki/ค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2551. http://gotoknow.org/blog/hunnan/94035ค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2551. http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/lesson05/L05_his.pdf โดยอาจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัยค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2551. งานโครงการนักศึกษา สำหรับบุคคลทั่วไป (ที่ปรึกษาวัยรุ่นอัจฉริยะด้านการศึกษาต่อต่างประเทศ)นางสาวช่อเพชร มหาเพชร,นายธนภัทร จามพฤกษ์ 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น